เมนู

สมุททวรรคที่ 3



อรรถกถาปฐมสมุททสูตรที่ 1


ในสมุททวรรค ปฐมสมุททสูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า จกฺขุํ ภิภฺขเว ปุริสสฺส สมุทฺโท ความว่า อารมณ์
ชื่อว่าสมุทรเพราะอรรถว่า เต็มได้โดยยาก ก็ได้ หรือ เพราะอรรถว่าตั้งขึ้น
ก็ได้ จักษุนั่นแหละเป็นสมุทร. จริงอยู่อารมณ์มีสีเขียวเป็นต้น ของจักษุนั้น
ร่วมกันเข้าตั้งแต่พื้นปฐพี จนจดชั้นอกนิฏฐที่พรหมโลก ไม่สามารถจะทำให้
เต็มที่ได้ อารมณ์ชื่อว่าสมุทร เพราะอรรถว่าเต็มได้ยาก ก็มีด้วยประการฉะนี้
ส่วนจักษุชื่อว่าเป็นสมุทรในเพราะอารมณ์ทั้งหลาย มีสีเขียวเป็นต้นนั้น ๆ
อันภิกษุไม่สำรวมแล้ว ย่อมถึงความกล้าแข็งด้วยการดำเนินไปที่มีโทษ
เพราะเป็นเหตุเกิดกิเลส เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าสมุทร เพราะอรรถว่าตั้งขึ้น
ก็มี. บทว่า ตสฺส รูปมโย เวโค ความว่า กำลังเร็วแห่งสมุทรคือจักษุแม้นั้น
สำเร็จมาแต่รูป หาประมาณมิได้ ด้วยอำนาจอารมณ์ ต่างด้วยอารมณ์มี
สีเขียวเป็นต้น ที่มารวมกัน พึงทราบเหมือนกำลังเร็วอันสำเร็จมาแต่คลื่น
ของสมุทรอันหาประมาณมิได้. บทว่า โย ตํ รูปมยํ เวคํ สหติ ความว่า
ู้ใด ไม่ทำกิเลสมีราคะเป็นต้นให้เกิดขึ้นอย่างนี้คือ ราคะในอารมณ์ที่น่า
พอใจ โทสะในอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ โมหะในอารมณ์ที่เป็นกลาง ๆ อดทน
กำลังเร็วที่สำเร็จมาแต่รูป ซึ่งรวมลงในสมุทรนั้น โดยเป็นผู้วางเฉยเสีย.
ในบทว่า สอุมฺมิ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ชื่อว่า
สอุมฺมิ เพราะคลื่นคือกิเลส. ชื่อว่า สาวัฏฏะ เพราะวังวนคือกิเลส
ชื่อว่า สุคาหะ เพราะสัตว์ร้ายผู้จับคือกิเลส ชื่อว่า สรักขสะ เพราะผีร้าย